ยินดีต้อนรับสู่ บล็อค ของ นางสาวบงกช เพ่งหาทรัพย์ คะ

วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2559

 
บันทึการเรียนรู้ครั้งที่ 3

วัน จันทร์ ที่ 26 มกราคม พ.ศ.2559 เวลา 10:30 - 12:30 น.
     การเรียนในวันนี้ก่อนที่เราจะเริ่มเข้าสู่การเรียนอาจารย์ก็ได้ให้เราปั้มใบมาเรียนแล้วก็ทบทวบเกี่ยวกับความรู้เดิมในเนื้อหาในสัปดาห์ที่แล้ว จากนั้นก็เริ่มเข้าสู่บทเรียน  มาเริ่มกันเลย

 Sapore and Mitehell ได้แบ่งกาเคลื่อนไหวออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. การเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐาน หมายถึง การเคลือนไหวที่ต้องใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ๆ ของลำตัว แขน ขา เช่น การเดิน การวิ่ง การกระโดด การว่ายน้ำ
2. การเคลื่อนไหวเสริม หมายถึง การเคลื่อนไหวที่พัฒนาภายหลังจากการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐาน

  • การเคลื่อนไหวเบื้องต้น
  1. เมื่อได้ยินจังหวะดังเน้นหนัก เด็กอาจนึกถึงการเดินแถวแบบทหารหรือการกระโดดของกบ การควบม้า 
  2. เมื่อได้ยินเสียงจังหวะที่เบาๆ และช้าๆ เด็กอาจนึกถึงการเคลื่อนไหวของใบไม้ที่ต้องลม นกกำลังบิน ตัวหนอนกำลังคลาน ว่าวกำลังลอย
  • การเคลื่อนไหวประกอบเพลง
  1. การเล่นเกมประกอบเพลง เช่น เก้าอี้ดนตรี
  2. การเล่นเกมต่างๆ ของไทย เช่น มอญช่อนผ้า งูกินหาง รีรีข้าวสาร
  3. การเตลื่อนไหวประกอบเพลง (การร้องเพลงประกอบท่าทาง) เช่น การเคลื่อนไหวประกอบเพลง กระต่าย
  4. การเต้นรำพิ้นเมือง เช่น การเต้นรำของชาวพื้นเมืองเดนมาร์ก เพลงช่างำรองเท้า
  • เพลงที่มีท่าทางประกอบและการเล่นประกอบเพลง
  1. เป็นการเคลื่อนไหวที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กได้หัดรวบรวมความคิด และสนใจสิ่งที่กำลังทำอยู่ เด็กรู้จักบังคับการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น นิ้วมือ แขน ขา มือให้เกิดขึ้นพร้อมๆกัน
  • การเคลื่อนไหวแบบไม่เคลื่อนที่
  1. การก้มตัว
  2. การเหยียดตัว
  3. การบิดตัว
  4. การหมุนตัว
  5. การโยกตัว
  6. การแกว่งหรือหมุนเวียน
  7. การโอนเอน
  8. การดัน
  9. การสั่น
  10. การตี
  • การเคลื่อนที่แบบเคลื่อนไหว
  1. การเดิน
  2. การวิ่ง
  3. การกระโดดเขย่ง
  4. การกระโจน
  5. การโดดสลับเท้า
  6. การสไลด์
  7. การควบม้า
  • การฝึกจังหวะ
  • การทำจังหวะนั้นมิได้หมายถึงการกำกับจังหวะด้วยการตบมือ เคาะเท้าหรือใช้เครื่องให้ได้จังหวะอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น แต่หมายถึงการทำจังหวะด้วยวิธีต่างๆ ซึ่งอาจจะขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง การเปล่งเสียงออกจากลำคอ การทำให้ร่างกายส่วนต่างๆเกิดเสียงก็ได้ทั้งสิ้น การทำจังหวะแบ่งออกเป็น 4 วิธี
  1. การทำจังหหวะด้วยการใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกาย
  2. การทำจังหวะด้วยการเปล่งเสียง
  3. การทำจังหวะด้วยการใช้เครื่องเคาะจังหวะ
  4. การทำจังหวะด้วยการเคลื่อนไหว
  • การเคลื่อนไหวพิ้นฐาน
  • การเคลื่อนไหวพื้นฐานแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
  1. การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ ได้แก่ การเคลื่อนไหวส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
  2. การเคลื่อนไหวที่เคลื่อนที่ ได้แก่ การเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งได้แก่ การเดิน การวิ่ง
  • วัตถุประสงค์ของกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
  1. ให้เด็กได้ผ่อนคลายความตึงเครียด
  2. พัฒนาอวัยวะุทุกส่วนของร่างกายให้ได้เคลื่อนไหวอย่างสัมพันธ์
  3. ให้เด็กได้รับประสบการณ์ ความสนุกสนาน รื่นเริง
  4. ฝึกการเป็นผู้นำผู้ตามที่ดี
  • การเตรียมร่างกาย
  • วิธีการศึกษาการเตรียมร่างกาย
  1. ให้รู้จักส่วนต่างๆของร่างกายว่าชื่ออะไร อยู่ตรงไหน และมีส่วนใดบ้างที่เคลื่อนไหวได้
  2. ขณะเคลื่อไหว ควรฝึกให้เด็กรู้ตัวว่าร่างกายหรืออวัยวะส่วนใดกำลังเคลื่อนไหวหรือทำอะไรอยู่
  • ตัวอย่างการฝึกเตรียมร่างกาย
  1. ให้เด็กแตะสัมผัสส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ศีรษะ คอ ไหล่ สะโพก โดยครูบอกให้เด็กรู้จักชื่อและสามารถชี้ชิ้นส่วนต่างๆ ของร่างกายว่ามีอะไรบ้าง
  2. ให้เด็กลองสำรวจร่างกายดูว่า ส่วนใดเอนเอียงโค้งงอ เหวี่ยง หมุนกวัดแกว่ง ได้มากน้อยเพียงใด
  3. ให้เด็กชี้ตามส่วนต่างๆ ของร่างกายที่ละส่วนอย่างรวดเร็ว เช่น แขน ข้อศอก ข้อมือ ตา จมูก ข้อเท่า เข่า และให้ลองชยับเขยื้อนดูทีละส่วน
  4. ให้เด็กหาพื้นที่ให้ตัวเองและลองจัดท่าทาง โดยเน้นให้จัดแขน ขา หรือลำตัวส่วนใดส่วนหนึ่ง แล้วอยู่นิ่งในท่านั้น สลับกันไป
  • แนวทางการประเมิน
  1. สังเกตการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย
  2. สังเกตการทำท่าทางแปลกใหม่ ไม่ซ้ำกัน
  3. สังเกตการทำท่าทางตามคำสั่งและข้อตกลง
  4. สังเกตการแสดงออก
  5. สังเกตความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม
ความรู้ที่ได้รับ

 ได้รู้ความรู้พื้นฐานของการเคลื่อนไหว เเละการเคลื่อนไหวอยู่กับที่ สามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้มาประยกต์ใช้ในการจักกิจกรรมการเคบื่อนไหวและจังหวะให้กับเด็กได้อย่างถูกต้องและครบถ้วนตามหลัก

การประเมิน

ประเมินตนเอง - มีความตรงต่อเวลาในการเข้าเรียนเวลาที่อาจารย์สอนก็ตั้งใจฟังแต่าจจะมีช่วงที่ไม่สนใจบ้างก็พยายามดึงตัวเองให้กลับมามีสมาธิในการเรียนอีกครั้ง

ประเมินเพื่อน - วันนี้เพื่อนๆน่ารักตั้งใจฟังอาจารย์สอนเป็นอย่างดีแล้วก็ช่วยกันตอบคำถามเวลาที่อาจารย์ถามคำถาม

ประเมินอาจารย์ - อาจารย์มีความตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพ อธิบายถึงรายละเอียดของเนื้อหาได้อย่างเข้าใจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น