ยินดีต้อนรับสู่ บล็อค ของ นางสาวบงกช เพ่งหาทรัพย์ คะ

วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2








วันจันทร์ ที่ 18 มกราคม พ.ศ.2559 เวลา 10:30 - 12:30 น.

ความรู้ที่ได้ในวันนี้

      วันนี้อาจารย์บาสได้สอนการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวและจังหวะสำหรับเด็กปฐมวัย




เนื้อหาสาระ กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะหมายถึง กิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้เด็กๆได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย ตามจังหวะได้อย่างอิสระ โดยใช้จังหวะเเละดนตรีที่ใช้ประกอบจังหวะ ได้แก่ เสียง - ทำนองเพลง การปรบมือ เสียงเคาะไม้ กลอง เป็นต้น มาประกอบการเครื่องไหว เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ เรียนรู้จังหวะเเละการควบคุมการเคลื่อนไหวของตัวเองได้
  •  เสียงหรือสัญลักษณ์ ที่ใช้กำหนดความช้าเร็วของการเคลื่อนไหวมีดังนี้ 

  1. เสียงจากคน เช่น การนับ 
  2. เสียงจากเครื่องดนตรี เช่น การเคาะ ตีเครื่องดนตรี
  3. การตบมือหรือการดีดนิ้วเป็นจังหวะ
  • ความสำคัญของการเคลื่อนไหวและจังหวะ





  • การเคลื่อนไหวพื้นฐานแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่ 
  1. การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ ได้แก่ การเคลื่อนไหวส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย โดยจะไม่เคลื่อนที่ไปไหน
  2. การเคลื่อนไหวที่เคลื่อนที ได้แก่ การเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เช่น การเดิน การวิ่ง 
  • องค์ประกอบของการเคลื่อนไหวและจังหวะ
  1. การรู้จักส่วนต่างๆของร่างกาย
  2. บริเวณและเนื้อที่
  3. ระดับของการเคลื่อนไหว
  4. ทิศทางของการเคลื่อนไหว
  5. การฝึกจังหวะ
  • หลักการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ
              ควรเริ่มจากการเคลื่อนไหวที่เป็นอิสระไม่ควรมีระเบียบและวิธีการที่ยุ่งยากนักให้เด็กแสดงออกด้วยตนเองอย่างอิสระและเป็นไปตามความนึกคิดของเด็กเอง ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้เด็กมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความนึกคิด ความรู้สึกต่างๆ ครูเปิดโอกาสให้เด็กคิดหาวิธีการเคลื่อนไหวแบบที่ต้องเคลื่อนที่เป็นรายบุคคลเป็นคู่ เป็นกลุม ตามลำดับ
  • เนิ้อหาการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ
  1. การเคลื่อนไหวตามจินตนาการ
  2. การเคลื่อนไหวประกอบจังหวะและดนตรี
  3. การฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตาม
  4. การฝึกความจำ
  5. การเคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์ / ประกอบเพลง
  6. การเคลื่อนไหวตามจังหวะและสัญญาณ
  7. การฟังและปฏิบัติตามคำสั่ง / คำบรรยาย
  • จุดประสงค์การจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ
  1. เพื่อให้เด็กออกกำลังกาย
  2. เพื่อนฝึกการฟังและปฏิบัติตาม
  3. เพื่อส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
  4. เพื่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน
  • บทบาทครูในการจัดกิจกรรม
  1. สนับสนุนให้เด็กมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
  2. ครูควรสร้างบรรยากาศสร้างให้เด็กมีความมั่นใจความกล้า
  3. ไม่ควรชี้แนะเด็กในเรื่องความคิดมากเกินไปแต่ความพูดในเชิงเสนอแนะ เมื่อเด็กบางคนยังคิดไม่ออก
  4. จัดกิจกรรมวันละไม่น้อยกว่า 15-20 นาที
  5. ก่อนจัดกิจกรรมเสร็จสิ้น ให้เด็กพักผ่อนนิ่งๆอย่างน้อย 2 นาที
  6. ในระยะแรกให้เด็กออกมาร่วมกิจกรรมกลุ่มทีละไม่เกิน 10 คน แต่ในระยะต่อไป อาจเพิ่มจำนวนเด็กมากขึ้น
  7. ครูอาจใช้การเคลื่อนไหวและจังหวะสัมพันธ์กับทักษะทางคณิตศาสตร์ เช่น เมื่อสั่งให้ "หยุด"เด็กต้องจับกลุ่ม 3 คน
  • แนวทางการประเมิน
  1. สังเกตการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย
  2. สังเกตการทำท่าทางแปลกใหม่ ไม่ซ้ำกัน
  3. สังเกตการทำท่าทางตามคำสั่งและข้อตกลง
  4. สังเกตการแสดงออก
สังเกตความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม
วัน พฤหัสบดี ที่ 21 มกราคม พ.ศ.2559 เวลา 11:30 - 14: 30 น.

  จากที่เราได้เรียนเกี่ยวกับทฤษฎีไปแล้วเราก็ได้มาเรียนการปฏิบัติกับอาจารย์เบียร์ในสัปดาห์ที่แล้วเรามีการบ้านคือการไปซ้อมเต้นเพลงที่เราชอบ  มาดู ท่าเต้นของเพื่อนๆบางส่วนกันดีกว่า 


ทีเด็ดอยู่ที่คู่ของเรา 5555 



  • การจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวให้เด็กมี 3 ขั้นคือ
  1. ขั้นนำ คิอ การเครื่องไหวพื้นฐาน
  2. ขั้นสอน คือการเคลื่อนไหวให้สัมพันธ์กับเนื้อหา เช่น หน่วยสัตว์ก็ให้เด็กได้เเสดงท่าสัตว์ต่างๆ
  3. ขั้นสรุป คือ การให้เด็กได้ผ่อนคลาย 
  • แล้วอาจารย์ก็ได้สาธิตถึงวิธีการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหว ให้กับพวกเรา
การนำความรู้มาประยุกต์ใช้

   เราสามรถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้มาปรับใช้ในการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวให้กับเด็กได้ในอนาคต โดยเรานำเทคนิคของอาจารย์มาปรับใช้และที่สำคัญเราจะสามารถจัดกิจกรรมได้ถูกต้องตามขั้นตอน

การประเมิน

ประเมินตนเอง - วันนี้ต้องใจเรียนมากๆแล้วก็ซ้อมท่าเต้นมาอย่างดีเพื่อที่จะสร้างความสนุกให้กับเพื่อนๆ
ประเมินเพื่อน - เพื่อนๆแต่ละคนกล้าที่จะเต้นโดยไม่เขินอายและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี
ประเมินอาจารย์ - ในการสอนของทฤษฎีอาจารย์บาสอธิบายเนื้อหาได้อย่างละเอียดทำให้เข้าใจได้ง่าย
ในการเรียนวันพฤหัสบดี อาจารย์เบียรืมีความน่ารักเเละเป็นกันเอง อาจารย์มีวิธีการสอนี่น่าสนใจทำให้เข้าใจขั้นตอนในการปฏิบัติได้ง่าย






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น