ยินดีต้อนรับสู่ บล็อค ของ นางสาวบงกช เพ่งหาทรัพย์ คะ

วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

วัน จันทร์ ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 เวลา 10 : 30 - 12 : 30 น.

วัน พฤหัสบดี ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2559 เวลา 11 : 30 - 14 : 30 น.


วันนี้เริ่มด้วยการเช็คชื่อ เเละพูดคุยเพื่อที่จะรอเพื่อนคนอื่นๆมา  จากนั้นก็ให้พวกเรานั่งกันเป็นรูปตัวยู และทำท่าการบริหารสมองก่อนที่จะเริ่มเรียน จากนั้นก็ได้อบอุ่นร่างกายโดยการยืดตัว เพราะเนื่องจากครั้งที่แล้วที่อาจารย์ให้พวกเราออกมานำส่วนใหญ่ที่พวกเราทำท่ากันจะเป็นท่า แอราบิกมากกว่า อาจารย์จึงสอนท่าที่ถูกต้องให้เรา โดยการทำกิจกรรมเคลื่อนไหวของเด็กนั้นควรให้เด็กได้ขยับทั้งซ้ายและขวาเพื่อที่สมองจะได้พัฒนาทั้งสองข้าง มาดูบรรยากาศกันดีกว่า







  • ต่อมาอาจารย์ก็ได้สอนเกี่ยวกับการเคาะจังหวะในการเคลื่อนไหวโดยการให้สัญญาณโดยการเคาะ

จังหวะดังนี้
  1. ถ้าครูเคาะจังหวะ 1 ครั้งให้เด็กๆกระโดดไปหนึ่งครั้ง
  2. ถ้าคุณครูเคาะจังหวะ 2 ครั้งก็ให้เด็กๆกระโดดไป 2 ครั้ง
  3. ถ้าคุณครูเคาะจังหวะรัวๆ ให้เด็กๆกระโดดไปรอบๆห้องโดยไม่ให้ชนกับเพื่อนนะค่ะ
  4. ถ้าคุณครูเคาะ 2 ครั้งติดกันให้เด็กๆหยุดอยู่กับที่
**ถ้าเด็กๆไม่เข้าใจก็ให้ทบทวนอีก 1 ครั้ง **


ขั้นตอนในการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
  1. ให้เด็กๆหาพื้นที่ของตัวเองโดยใช้เทคนิคในการพูดเช่น ไหนเด็กๆลองหาบ้านให้ตัวเองสิลูก เด็กๆได้บ้านเป็นของตัวเองหรือยัง แบบนี้เป็นต้น
  2. จากนั้นก็ให้เด็กๆเคลื่อนไหวตามจังหวะที่ครูเคาะ โดยมีอยู่ว่าห้ามเด็กๆไปชนกับเพื่อน
  • หลังจากที่อาจารย์อธิบายเสร็จก็ขออาสาสมัครไปทำเป็นตัวอย่างให้เพื่อนๆดูจากนั้นก็ให้จับกลุ่ม 5คน แล้วก็ให้เวลาซ้อม

กลุ่มของเรา เลย์เป็นคุณครูสอน





การนำความรู้

       สามารถนำความรู้ในเรื่องของวิธีการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะและวิธีการสอนที่เป็นขั้นตอนที่ถูกต้องนำมาจัดกิจกิจกรรมให้เด็กได้ในอนาคตและเทคนิคที่อาจารย์ได้สอนในวันนี้มาปรับใช้และต่อยอดให้เกิดประโยชน์กับตัวเองให้ได้มากที่สุด

การประเมิน

ประเมินตนเอง - วันนี้ตั้งใจฟังอาจารย์สาธิตวิธีการสอนให้เพื่อนๆแล้วให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกับเพื่อน

ประเมินเพื่อน - วันนี้เพื่อนๆให้ความร่วมมือในทุกๆกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์ - อาจารย์มีความตรงต่อเวลาในการเข้าสอนและมีเทคนิคดีๆในการสอน มีกิจกรรมที่น่าสนใจมากชให้พวกเราได้ทำอยู่ตลอด อาจารย์น่ารักมีความเป็นกันเองมากคะ







วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

วัน จันทร์ ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 เวลา 10 : 30 - 12: 30 น.

***วันนี้ขาดเรียนเนื่องจากไม่สบาย***

วัน พฤหัสบดี ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 เวลา 11 : 30 - 14 : 30 น .

******ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ไม่สบาย*****

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4


วัน จันทร์ ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 เวลา 10 : 30 - 12 : 30 น.


วันก่อนที่จัเริ่มนำเสนองานของแต่ล่ะกลุ่มก็มีการปั้มใบเข้าเรียนก่อน พอทุกกลุ่มมากันพร้อม พวกเราก็เริ่มนำเสนองานของแต่ละกลุ่มกัน 

  • กลุ่มที่ 1 ทฤษฎีการเคลื่อนไหวทางร่างกาย






ทฤษฎีการเคลื่อนไหวทางด้านร่างกายของอาร์โนลด์ กีเซลล์
           กีเซลล์ กล่าวถึงทฤษฎีพัฒนาการทางร่างกายว่าการเจริญเติบโตของเด็กจะแสดงออก เป็นพฤติกรรมด้านต่าง ๆ สำหรับพัฒนาการทางร่างกายนั้นหมายถึง การที่เด็กแสดงความสามารถในการจัดกระทำ กับวัสดุ เช่น การเล่น ลูกบอล การขีดเขียน เด็กต้องใช้ความสามารถของการใช้สายตาและกล้ามเนื้อมือ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ต้องอาศัยการเจริญเติบโตของระบบประสาทและการเคลื่อนไหวประกอบกัน ลักษณะพัฒนาการที่สำคัญของเด็กในระยะนี้ ก็คือ การเปลี่ยนแปลงทางด้านการเคลื่อนไหว การทำ งานของระบบประสาทกล้ามเนื้อ การพัฒนาความสามารถในการควบคุมร่างกาย การบังคับส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
กีเซลล์ ได้แบ่งพัฒนาการเด็กออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้
            1. พฤติกรรมด้านการเคลื่อนไหว  เป็นความสามารถของร่างกายที่ครอบคลุมถึงการบังคับอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายและความสัมพันธ์
ทางด้านการเคลื่อนไหวทั้งหมด
             2. พฤติกรรมด้านการปรับตัว เป็นความสามารถในการประสานงานระหว่างระบบการเคลื่อนไหวกับระบบความรู้สึก เช่น การ
ประสานงานระหว่างตากับมือ
             3. พฤติกรรมทางด้านภาษา จะเป็นการแสดงออกทางหน้าตาและท่าทางการเคลื่อนไหว
             4. พฤติกรรมทางด้านนิสัยส่วนตัวและสังคม เป็นความสามารถในการปรับตัวของเด็ก ระหว่างบุคคลกับบุคคลและบุคคลกับกลุ่มภายใต้ภาวะ แวดล้อมและสภาพความเป็นจริง
การนำมาประยุกต์ใช้
             1.โครงสร้างของทฤษฎีกีเซลล์ ยึดพัฒนาการเด็ก คุณลักษณะที่พึงประสงค์ และประสบการณ์สำคัญ
             2. ไม่เร่งสอนสิ่งที่ยากเกินพัฒนาการตามวัยของเด็ก
             3.จัดกิจกรรมให้เด็กมีโอกาสเคลื่อนไหว กิจกรรมเดี่ยวและกิจกรรมกลุ่ม
             4.จัดกิจกรรมให้เด็กได้ฟัง ได้พูด ท่องคำคล้องจองร้องเพลง ฟังนิทาน

ทฤษฎีการเรียนรู้ของบรูเนอร์
             เชื่อว่าพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กเกิดจากกระบวนการ ภายในอินทรีย์ (Organism) เน้นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมที่แวดล้อมเด็ก ซึ่งจะพัฒนาได้ดีเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก
ทฤษฎีของบรูเนอร์เน้นหลักการ กระบวนการคิดประกอบด้วยลักษณะ 4 ข้อ คือ
             1.แรงจูงใจ (Motivation)
             2.โครงสร้าง (Structure)
             3.ลำดับขั้นความต่อเนื่อง (Sequence)
             4.การเสริมแรง (Reinforcement)
บรูเนอร์แบ่งขั้นพัฒนาการการเรียนรู้ของมนุษย์ออกเป็น 3 ขั้น คือ

             1. ขั้นการกระทำ (Enactive Stage) เด็กเรียนรู้จากการกระทำและการสัมผัส

             2. ขั้นคิดจินตนาการหรือสร้างมโนภาพ (Piconic Stage) เด็กเกิดความคิดจากการรับรู้ตามความเป็นจริง และการคิดจากจินตนาการ

             3. ขั้นใช้สัญลักษณ์และคิดรวบยอด (Symbolic Stage) เด็กเริ่มเข้าใจเรียนรู้ความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ รอบตัว และพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับ สิ่งที่พบเห็น


  • กลุ่มที่ 2 ทฤษฎีการเคลื่อนไหวทางด้านสติปัญญา
ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์
กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเด็กมีความพร้อมทั้งทางกายและทางใจเกี่ยวกับร่างกาย เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมการใช้กล้ามเนื้อและระบบประสาทให้สัมพันธ์กันและเพื่อเป็นการฝึกทักษะ เกี่ยวกับทางจิตใจเป็นความพร้อมทางด้านสมองและสติปัญญา และควรคำนึงถึงความพร้อมในวัยต่างๆ ด้วยว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรเมื่อเด็กมีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจจะส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี
กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise) เด็กจะเรียนรู้จากการกระทำซ้ำๆ กันหลายๆ ครั้งเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวและจังหวะเด็กจะเกิดทักษะในแบบต่างๆ ซึ่งทำให้ระบบประสาทและกล้ามเนื้อทำงานสัมพันธ์กันดี
กฎแห่งผล (Law of Effects) เด็กจะเรียนรู้ได้ดีถ้าผลของการกระทำนั้นเป็นไปในทางบวกหรือทางที่ดี ซึ่งจะทำให้เด็กเกิดความสนใจ
เกิดทักษะ ทำให้เด็กมีความสนุกสนานและความพอใจ


ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
เพียเจต์ อธิบายว่าพัฒนาการทางสติปัญญาของคนมีลักษณะเดียวกันในช่วงอายุเท่ากันและแตกต่างกันในช่วงอายุต่างกัน พัฒนาการทางสติปัญญาเป็นผลจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมโดยบุคคลพยายามปรับตัวให้อยู่ในสภาวะสมดุลด้วยการใช้กระบวนการดูดซึมและกระบวนการปรับให้เหมาะสมจนทำให้เกิดการเรียนรู้โดยเริ่มจากการสัมผัส ต่อมาจึงเกิดความคิดทางรูปธรรมและพัฒนาไปเรื่อย ๆ จนเกิดความคิดที่เป็นนามธรรมซึ่งเป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามลำดับเพียเจต์ถือว่าการให้เด็กได้สัมผัสวัตถุต่างๆ จะส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ โดยเฉพาะในเด็กปฐมวัยซึ่งอาศัยการรับรู้เป็นสื่อในการกระตุ้นทางความคิดของเด็ก จำเป็นต้องให้เด็กได้มีโอกาสเคลื่อนไหวและสัมผัสสิ่งต่างๆ ทฤษฎีนี้เป็นประโยชน์ในการจัดเนื้อหากิจกรรมทางการเคลื่อนไหว โดยให้เด็กได้สัมผัสกับวัตถุต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเด็กซึ่งจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ในสิ่งใหม่


  •  กลุ่มที่ 3 ทฤษฎีการเคลื่อนไหวทางด้านความคิดสร้างสรรค์


กิลฟอร์ด กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถทางสมองในการคิดหลายทิศทาง ซึ่งมีองค์ประกอบความสามารถในการริเริ่ม ความคล่องในการคิด ความยืดหยุ่นในการคิด และความสามารถในการแต่งเติมและให้คำอธิบายใหม่ที่เป็นการติดตามหลักเหตุผลเพื่อหาคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียว เชื่อว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถทางสมองที่คิดได้อย่างซับซ้อน กว้างไกล หลายทิศทาง หรือที่เรียกว่า คิดอเนกนัย (Divergent thinking) ซึ่งประกอบด้วย ความคิดริเริ่ม (Originality) ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency) ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) ความคิดละเอียดลออ(Elaboration)

กิลฟอร์ดได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ไว้ดังนี้
          1. ความคิดริเริ่ม (Originality) หมายถึง ความคิดแปลกใหม่ไม่ซ้ำกันกับความคิดของคนอื่น และแตกต่างจากความคิดธรรมดา ความคิดริเริ่มอาจเกิดจากการคิดจากเดิมที่มีอยู่แล้วให้แปลกแตกต่างจากที่เคยเห็น หรือสามารถพลิกแพลงให้กลายเป็นสิ่งที่ไม่เคยคาดคิด ความคิดริเริ่มอาจเป็นการนำเอาความคิดเก่ามาปรุงแต่งผสมผสานจนเกิดเป็นของใหม่ ความคิดริเริ่มมีหลายระดับซึ่งอาจเป็นความคิดครั้งแรกที่เกิดขึ้นโดยไม่มีใครสอนแม้ความคิดนั้นจะมีผู้อื่นคิดไว้ก่อนแล้วก็ตาม
          2. ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency) หมายถึง ปริมาณความคิดที่ไม่ซ้ำกันในเรื่องเดียวกัน โดยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
              2.1 ความคล่องแคล่วทางด้านถ้อยคำ (Word Fluency) เป็นความสามารถในการใช้ถ้อยคำอย่างคล่องแคล่ว
              2.2 ความคิดคล่องแคล่วทางด้านการโยงสัมพันธ์ (Associational Fluency) เป็นความสามารถที่จะคิดหาถ้อยคำที่เหมือนกันได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ภายในเวลาที่กำหนด
              2.3 ความคล่องแคล่วทางด้านการแสดงออก (Expression Fluency) เป็นความสามารถในการใช้วลีหรือประโยค กล่าวคือ สามารถที่จะนำคำมาเรียงกันอย่างรวดเร็วเพื่อให้ได้ประโยคที่ต้องการ
              2.4 ความคล่องแคล่วในการคิด (Ideational Fluency) เป็นความสามารถที่จะคิดค้นสิ่งที่ต้องการภายในเวลาที่กำหนด เช่น ใช้คิดหาประโยชน์ของก้อนอิฐให้ได้มากที่สุดภายในเวลาที่กำหนดซึ่งอาจเป็น 5 นาที หรือ 10 นาที

          3. ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) หมายถึง ประเภทหรือแบบของการคิดแบ่งออกเป็น
               3.1 ความคิดยืดหยุ่นที่เกิดขึ้นทันที (Spontaneous Flexibility) เป็นความสามารถที่จะพยายามคิดได้หลายทางอย่างอิสระ ตัวอย่างของคนที่มีความคิดยืดหยุ่นในด้านนี้จะคิดได้ว่าประโยชน์ของหนังสือพิมพ์มีอะไรบ้าง ความคิดของผู้ที่ยืดหยุ่นสามารถจัดกลุ่มได้หลายทิศทางหรือหลายด้าน เช่น เพื่อรู้ข่าวสาร เพื่อโฆษณาสินค้า เพื่อธุรกิจ ฯลฯ ในขณะที่คนที่ไม่มีความคิดสร้างสรรค์จะคิดได้เพียงทิศทางเดียว คือ เพื่อรู้ข่าวสาร เท่านั้น
              3.2 ความคิดยืดหยุ่นทางด้านการดัดแปลง (Adaptive Flexibility) หมายถึง ความสามารถในการดัดแปลงความรู้ หรือประสบการณให้เกิดประโยชน์หลายๆ ด้าน ซึ่งมีประโยชน์ต่อการแก้ปัญหา ผู้ที่มีความยืดหยุ่นจะคิดดัดแปลงได้ไม่ซ้ำกัน
          4. ความคิดละเอียดละออ (Elaboration) หมายถึง ความคิดในรายละเอียดเป็นขั้นตอน สามารถอธิบายให้เห็นภาพชัดเจน หรือเป็นแผนงานที่สมบูรณ์ขึ้น ความคิดละเอียดละออจัดเป็นรายละเอียดที่นำมาตกแต่ง ขยายความคิดครั้งแรกให้สมบูรณ์ขึ้น

จากที่กล่าวมาข้างต้นสรุปได้ว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นการคิดอเนกนัย ที่ประกอบด้วยความคิดริเริ่ม ความคล่องแคล่วในการคิด ความยืดหยุ่นในการคิด และความคิดละเอียดลออ

ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว
คือ เป็นความสามารถในการคิด จินตนาการ ความคิดแปลกใหม่โดยอาศัยความคิดและประสบการณ์เดิมแล้วนำมาปรับปรุง มีการคิดได้อย่างอิสระคิดอย่างเป็นขั้นเป็นตอน จะแสดงออกโดยการเคลื่อนไหวและออกแบบท่าทางต่างๆขึ้นมาตามความคิดของเด็กเอง เช่น การที่เด็กจินตนาการคิดว่าตนเองเป็นผีเสื้อ เด็กจะทำการคิดผ่านกระบวนการต่างๆแล้วแสดงออกมาเป็นท่าทางของผีเสื้อ เช่น ผีเสื้อมีปีก ผีเสื้อต้องบิน เป็นต้น

ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์
            อี พอล ทอร์แรนซ์ (E. Paul Torrance) นิยามความคิดสร้างสรรค์ว่าเป็นกระบวนการของความรู้สึกไวต่อปัญหา หรือสิ่งที่บกพร่องขาดหายไปแล้วรวบรวมความคิดตั้งเป็นสมมติฐานขึ้น ต่อจากนั้นก็ทำการรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อทดสอบสมมติฐานนั้น
Torrance  เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงโด่งดังท่านหนึ่งทางด้านความคิดสร้างสรรค์ ได้สร้างทฤษฎีและแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ที่ใช้กันในหลายประเทศทั่วโลก เขากล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์จะแสดงออกตลอดกระบวนการของความรู้สึกหรือการเห็นปัญหาการรวบรวมความคิดเพื่อตั้งเป็นข้อสมมติฐาน การทดสอบ และดัดแปลงสมมติฐานตลอดจนวิธการเผยแพร่ผลสรุปที่ได้ความคิดสร้างสรรค์ จึงเปนกระบวนการแก้ ปัญหาทางวิทยาศาสตร์นั่นเอง และทอร์แรนซ์เรียกกระบวนการลักษณะนี้ว่ากระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรคค์หรือ  “The creative problem solving process”
กระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์แบ่งออกได้ 5 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 การพบความจริง ในขั้นนี้เริ่มตั้งแต่ความรู้สึกกังวล มีความสับสน วุ่นวาย เกิดขึ้นในจิตใจ แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นอะไร จากจุดนี้ก็พยายามตั้งสติ และหาข้อมูลพิจารณาดูว่าความยุ่งยาก วุ่นวาย สับสน หรือสิ่งที่ทำให้กังวลใจนั้นคืออะไร
 ขั้นที่ 2 การค้นพบปัญหา ขั้นนี้เกิดต่อจากขั้นที่ 1 เมื่อได้พิจารณาโดยรอบคอบแล้ว จึงเข้าใจและสรุปว่า ความสับสนวุ่นวายนั้นก็คือ การเกิดปัญหานั่นเอง
ขั้นที่ 3 การตั้งสมมติฐาน ขั้นนี้ต่อจากขั้นที่ 2 เมื่อรู้ว่ามีปัญหาเกิดขึ้นก็จะพยายามคิดและตั้งสมมติฐาน และรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ในการทดสอบสมมติฐานในขั้นที่ 3
ขั้นที่ 4 การแก้ปัญหา ในขั้นนี้จะพบคำตอบจากการทดสอบสมมติฐานในขั้นที่ 3
ขั้นที่ 5 ยอมรับผลจากการค้นพบ ขั้นนี้เป็การยอมรับคำตอบที่ได้จากการพิสูจน์เรียบร้อยแล้ว่าน่าจะแก้ปัญหาให้สำเร็จได้อย่างไร แต่ต่อจากจุดนี้การแก้ปัญหาหรือการค้นพบยังไม่จนตรงนี้ แต่ผลที่ได้จากการค้นพบจะนำไปสู่หนทางที่จะทำให้เกิดแนวคิดหรือสิ่งใหม่ต่อไปที่เรียกว่า New Challent

Torrance ได้กําหนดขั้นตอนของความคิดสร้างสรรค์ออกเป็น 4 ขั้นดังนี้
1. ขั้นเริ่มคิด คือ ขั้นพยายามรวบรวมข้อเท็จจรงิ เรื่องราวและแนวคิดต่าง ๆ ที่มีอยู่เข้าดัวยกันเพื่อหาความกระจ่างในปัญหา ซึ่งยังไม่ทราบว่าผลที่จะเกิดขึ้นนั้นจะเป็นไปในรูปแบบใดและอาจใช้เวลานานจนบางครั้งจะเกิดขึ้นโดยไม่รู้สึกตัว
2. ขั้นครุ่นคิด คือ ขั้นที่ผู้คิดต้องใช้ความคิดอย่างแต่บางครั้งความคิดอันนี้อาจหยุดชะงักไปเฉยๆเป็นเวลานาน บางครั้งก็จะกลับมาเกิดขึ้นใหม่อีก
3. ขั้นเกิดความคิด คือ ขั้นที่ความคิดจะมองเห็นความสัมพันธ์ของความคิดใหม่ที่ซ้ำกับความคิดเก่าๆซึ่งมีผู้คิดมาแล้ว การมองเห็นความสัมพันธ์ในแนวความคิดใหม่นี้จะเกิดขึ้นในทันทีทันใด ผู้คิดไม่ได้นึกฝันว่าจะเกิดขึ้นเลย
4. ขั้นปรับปรุง คือ ขั้นการขัดเกลาความคิดนั้นให้หมดจดเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่ายหรือต่อเติมเสริมแต่งความคิดที่เกิดขึ้นใหม่นั้นให้รัดกุมและวิวัฒนาการก้าวหน้าต่อไป ในบางกรณีก่อให้เกิดการประดิษฐ์ผลงานใหม่ๆทางวิทยาศาสตร์ นวนิยาย บทเพลง จิตรกรรม และการออกแบบอื่นๆ เป็นต้น

ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว
ความคิดสร้างสรรค์ว่าเป็นกระบวนการของความรู้สึก หากเด็กรู้สึกอย่างไรก็จะมีการแสดงออกและเคลื่อนไหวออกมาแบบนั้น เช่น เด็กฟังเพลงเด็กมีความรู้สึกที่ดีต่อเพลงๆนั้น เด็กก็จะเคลื่อนไหวและแสดงออกมาตามบทเพลงที่เด็กได้ฟัง


  • กลุ่มที่ 4 ทฤษฎีการเคลื่อนไหวทางด้านสังคม
ทฤษฎีของอิริคสัน
      อิริสันเป็นลูกศิษย์ของฟรอยด์ได้สร้างทฤษฏีขึ้นในแนวคิดของฟรอยด์ แต่ได้เน้นความสําคัญของทางด้านสังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมด้านจิตใจว่ามีบทบาทในการพัฒนาการบุคลิกภาพมาก ความคิดของอิริสันต่างกับฟรอยด์หลายประการ เป็นต้นว่าเห็นความสําคัญของEgo มากว่า Id และถือว่าพัฒนาการของคนไม่ได้จบแค่วัยรุ่น แต่ต่อไปจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต ด้วยเหตุที่อิริสันเน้นกระบวนการทางสังคมว่าเป็นจุดกระตุ้นหล่อหลอมบุคลิกภาพ เขาจึงได้เรียกทฤษฎีของเขาว่า เป็นทฤษฏีจิตสังคม
อิริคสันได้แบ่งพัฒนาการของบุคลิกภาพออกเป็น 8 ขั้น ดังต่อไปนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นความไว้วางใจ-ความไม่ไว้วางใจ
      ซึ่งเป็นขั้นในวัยทารก อีริคสันถือว่าเป็นรากฐานที่สำคัญของพัฒนาการในวัยต่อไป เด็กวัยทารกจำเป็นจะต้องมีผู้เลี้ยงดูเพราะช่วยตนเองไม่ได้
ผู้เลี้ยงดูจะต้องเอาใจใส่เด็ก
ขั้นที่ 2 ความเป็นตัวของตัวเองอย่างอิสระ – ความสงสัยไม่แน่ใจตัวเอง
     อยู่ในวัยอายุ 2-3 ปี วัยนี้เป็นวัยที่เริ่มเดินได้ สามารถที่จะพูดได้และความเจริญเติบโตของร่ายกาย ช่วยให้เด็กมีความอิสระ พึ่งตัวเองได้ และมีความอยากรู้อยากเห็น อยากจับต้องสิ่งของต่างๆ เพื่อต้องการสำรวจว่าคืออะไร เด็กเริ่มที่อยากเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง
ขั้นที่ 3 การเป็นผู้คิดริเริ่ม – การรู้สึกผิด
      วัยเด็กอายุประมาณ 3-5 ปี อีริคสันเรียกวัยนี้ว่าเป็นวัยที่เด็กมีความ คิดริเริ่มอยากจะทำอะไรด้วยตนเองจากจินตนาการของตนเอง การเล่นสำคัญมากสำหรับวัยนี้เพราะเด็กจะได้ทดลองทำสิ่งต่างๆจะสนุกจากการ สมมุติของต่างๆเป็นของจริงเช่นอาจจะใช้ลังกระดาษเป็นรถยนต์ขับรถยนต์ เหมือนผู้ใหญ่
***สามขั้นแรกเป็นขั้นพัฒนาการที่เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย***
ขั้นที่ 4 ความต้องการที่จะทำกิจกรรมอยู่เสมอ – ความรู้สึกด้อย
ขั้นที่ 5 อัตภาพหรือการรู้จักว่าตนเองเป็นเอกลักษณ์ – การไม่รู้จักตนเองหรือสับสนในบทบาทในสังคม
ขั้นที่ 6 ความใกล้ชิดผูกพัน – ความอ้างว้างตัวคนเดียว
ขั้นที่ 7 ความเป็นห่วงชนรุ่นหลัง – ความคิดถึงแต่ตนเอง
ขั้นที่ 8 ความพอใจในตนเอง – ความสิ้นหวังและความไม่พอใจในตนเอง
ทฤษฎีของอิริสัน เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวอย่างไร
ตามทฤษฎีอาจกล่าวได้ว่าเด็กมักมีความเป็นตัวของตัวเองอย่างอิสระ ต้องการที่จะเรียนรู้และทำอะไรด้วยตนเอง และในวัยนี้มักมีการเคลื่อนไหวจากการเล่น ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญในการเรียนรู้ของเด็กวัยนี้
ทฤษฎีของอัลเบิร์ต แบนดูรา
         อัลเบิร์ต แบนดูรา กล่าวว่า การเรียนรู้ของมนุษย์นั้นเกิดจากพฤติกรรมบุคคลนั้นมีการปฏิสัมพันธ์ อย่างต่อเนื่องระหว่างบุคคลนั้น และสิ่งแวดล้อม ซึ่งทฤษฎีนี้เน้นบุคคลเกิดการเรียนรู้โดยการให้ตัวแบบ โดยผู้เรียนจะเลียนแบบจากตัวแบบ และการเลียนแบบนี้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยการสังเกตพฤติกรรมของตัวแบบ การสังเกตการณ์ตอบสนองและปฏิกิริยาต่าง ๆ ของตัวแบ[สภาพแวดล้อมของตัวแบบ ผลการกระทำ คำบอกเล่า และความน่าเชื่อถือของตัวแบบได้ การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยจึงเกิดขึ้นได้ ซึ่งกระบวนการต่าง ๆ ของการเลียนแบบของเด็ก ประกอบด้วย 4 กระบวนการ
1. กระบวนการดึงดูดความสนใจ (Attentional Process)
2. กระบวนการคงไว้ (Retention Process)
3. กระบวนการแสดงออก (Motor reproduction Process)
4. กระบวนการจูงใจ (Motivational Process)
ทฤษฎีของอัลเบิร์ต แบนดูรา เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว

          คือ เมื่อเด็กเห็นในสิ่งต่างๆที่ไม่เคยเห็น ไม่ว่าจะเป็นในทีวี ในบ้าน หรือว่านอกบ้าน สิ่งต่างที่เด็กเห็นนั้นล้วนมีการเคลื่อนไหว แสดงท่าทางต่างๆ แล้วเมื่อเด็กจะสังเกตุ สมองของเด็กจะมีการจดจำในสิ่งพวกนั้น แล้วนำมาทำตามหรือเรียกว่า "เลียนแบบ“ จนเกิดเป็นการเคลื่อนไหวตามสิ่งต่างๆ




วัน พฤหัสบดี ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 เวลา 11:30 - 14 : 30 น.

กิจกรรมวันนี้เริ่มต้นด้วยการฝึกสมองเพื่อจะทำให้เรามีสมาธิในการเรียน ท่าการฝึกสมาธิก็จะมีการทำจีบแอล โป้งก้อย เป็นต้น หลังจากี่เราทำท่าฝึกบริหารสมองเสร็จอาจารย์ก็ให้พวกเราจับกลุ่มกัน กลุ่มละ 4-5คนทำกิจกรรมการเคลื่อนไหวอยู่กับที่ กลุ่มล่ะ10ท่า แล้วให้เวลาในการซ้อมก่อนที่จะออกมานำเสนอให้เพื่อนๆดู  มาดูท่าของเเต่ล่ะกลุ่มกันดีกว่า >,<




   




  • กิจกรรมสุดท้ายเป็นกิจกรรมที่อาจารย์ได้นำเทคนิคดีๆมาสอนให้พวกเราดูก่อนเป็นตัวอย่างจากนั้นก็ให้พวกเราทุกคนออกไปแสดงเป็นครูสอนกิจกรรมการเคลื่อนไหวให้กับเด็ก โดยออกไปทำท่าทางทั้งหมด 3 ท่า โดยการสอนการทำท่าทางให้กับเด็กเราต้องทำตรงข้ามเพราะเด้กยังไม่สามารถรู้จักซ้ายขวา แต่ถ้าเด็กโตแล้วเราก็สามารถทำได้ปกติเพราะเด็กจะทราบได้เอง มาดูท่าของเเต่ละคนกันดีกว่า





                                        


ความรู้ที่ได้รับ

ได้ความรู้ในเรื่องของทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวทั้งด้านร่างกาย สังคม ความคิดสร้างสรรค์ และสติปัญญาแล้วยังได้เทคนิคดีๆจากการสอนกิจกรรมของอาจารย์เราสามรถนำเคนิคที่ได้ในวันนี้นำมาปรับใช้กับเด็กได้จริงๆในอนาคต

การประเมิน

ประเมินตนเอง - มีความตรงต่อเวลาในการเข้าเรียน แล้วตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนองานของตัวเองและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการทำกิจกรรมต่างๆ

ประเมินเพื่อน - เพื่อนๆนำเสนองานของแต่ละกลุ่มได้ดี และทำกิจกรรมเคลื่อนไหวกันอย่างจริงจังเเล้วยังสร้างเสียงหัวเราะภายในห้องเรียนทำให้ห้องเรียนไม่น่าเบื่อ

ประเมินอาจารย์ - อาจารย์มีความเป็นกันเองแล้วก็มีเทคนิคดีๆใาเป็นตัวอย่างให้กับพวกเราทุกอาทตย์แล้วยังกิจกรรมที่น่าสนใจอยู่ตลอด มีการเตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี





 
บันทึการเรียนรู้ครั้งที่ 3

วัน จันทร์ ที่ 26 มกราคม พ.ศ.2559 เวลา 10:30 - 12:30 น.
     การเรียนในวันนี้ก่อนที่เราจะเริ่มเข้าสู่การเรียนอาจารย์ก็ได้ให้เราปั้มใบมาเรียนแล้วก็ทบทวบเกี่ยวกับความรู้เดิมในเนื้อหาในสัปดาห์ที่แล้ว จากนั้นก็เริ่มเข้าสู่บทเรียน  มาเริ่มกันเลย

 Sapore and Mitehell ได้แบ่งกาเคลื่อนไหวออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. การเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐาน หมายถึง การเคลือนไหวที่ต้องใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ๆ ของลำตัว แขน ขา เช่น การเดิน การวิ่ง การกระโดด การว่ายน้ำ
2. การเคลื่อนไหวเสริม หมายถึง การเคลื่อนไหวที่พัฒนาภายหลังจากการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐาน

  • การเคลื่อนไหวเบื้องต้น
  1. เมื่อได้ยินจังหวะดังเน้นหนัก เด็กอาจนึกถึงการเดินแถวแบบทหารหรือการกระโดดของกบ การควบม้า 
  2. เมื่อได้ยินเสียงจังหวะที่เบาๆ และช้าๆ เด็กอาจนึกถึงการเคลื่อนไหวของใบไม้ที่ต้องลม นกกำลังบิน ตัวหนอนกำลังคลาน ว่าวกำลังลอย
  • การเคลื่อนไหวประกอบเพลง
  1. การเล่นเกมประกอบเพลง เช่น เก้าอี้ดนตรี
  2. การเล่นเกมต่างๆ ของไทย เช่น มอญช่อนผ้า งูกินหาง รีรีข้าวสาร
  3. การเตลื่อนไหวประกอบเพลง (การร้องเพลงประกอบท่าทาง) เช่น การเคลื่อนไหวประกอบเพลง กระต่าย
  4. การเต้นรำพิ้นเมือง เช่น การเต้นรำของชาวพื้นเมืองเดนมาร์ก เพลงช่างำรองเท้า
  • เพลงที่มีท่าทางประกอบและการเล่นประกอบเพลง
  1. เป็นการเคลื่อนไหวที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กได้หัดรวบรวมความคิด และสนใจสิ่งที่กำลังทำอยู่ เด็กรู้จักบังคับการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น นิ้วมือ แขน ขา มือให้เกิดขึ้นพร้อมๆกัน
  • การเคลื่อนไหวแบบไม่เคลื่อนที่
  1. การก้มตัว
  2. การเหยียดตัว
  3. การบิดตัว
  4. การหมุนตัว
  5. การโยกตัว
  6. การแกว่งหรือหมุนเวียน
  7. การโอนเอน
  8. การดัน
  9. การสั่น
  10. การตี
  • การเคลื่อนที่แบบเคลื่อนไหว
  1. การเดิน
  2. การวิ่ง
  3. การกระโดดเขย่ง
  4. การกระโจน
  5. การโดดสลับเท้า
  6. การสไลด์
  7. การควบม้า
  • การฝึกจังหวะ
  • การทำจังหวะนั้นมิได้หมายถึงการกำกับจังหวะด้วยการตบมือ เคาะเท้าหรือใช้เครื่องให้ได้จังหวะอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น แต่หมายถึงการทำจังหวะด้วยวิธีต่างๆ ซึ่งอาจจะขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง การเปล่งเสียงออกจากลำคอ การทำให้ร่างกายส่วนต่างๆเกิดเสียงก็ได้ทั้งสิ้น การทำจังหวะแบ่งออกเป็น 4 วิธี
  1. การทำจังหหวะด้วยการใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกาย
  2. การทำจังหวะด้วยการเปล่งเสียง
  3. การทำจังหวะด้วยการใช้เครื่องเคาะจังหวะ
  4. การทำจังหวะด้วยการเคลื่อนไหว
  • การเคลื่อนไหวพิ้นฐาน
  • การเคลื่อนไหวพื้นฐานแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
  1. การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ ได้แก่ การเคลื่อนไหวส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
  2. การเคลื่อนไหวที่เคลื่อนที่ ได้แก่ การเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งได้แก่ การเดิน การวิ่ง
  • วัตถุประสงค์ของกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
  1. ให้เด็กได้ผ่อนคลายความตึงเครียด
  2. พัฒนาอวัยวะุทุกส่วนของร่างกายให้ได้เคลื่อนไหวอย่างสัมพันธ์
  3. ให้เด็กได้รับประสบการณ์ ความสนุกสนาน รื่นเริง
  4. ฝึกการเป็นผู้นำผู้ตามที่ดี
  • การเตรียมร่างกาย
  • วิธีการศึกษาการเตรียมร่างกาย
  1. ให้รู้จักส่วนต่างๆของร่างกายว่าชื่ออะไร อยู่ตรงไหน และมีส่วนใดบ้างที่เคลื่อนไหวได้
  2. ขณะเคลื่อไหว ควรฝึกให้เด็กรู้ตัวว่าร่างกายหรืออวัยวะส่วนใดกำลังเคลื่อนไหวหรือทำอะไรอยู่
  • ตัวอย่างการฝึกเตรียมร่างกาย
  1. ให้เด็กแตะสัมผัสส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ศีรษะ คอ ไหล่ สะโพก โดยครูบอกให้เด็กรู้จักชื่อและสามารถชี้ชิ้นส่วนต่างๆ ของร่างกายว่ามีอะไรบ้าง
  2. ให้เด็กลองสำรวจร่างกายดูว่า ส่วนใดเอนเอียงโค้งงอ เหวี่ยง หมุนกวัดแกว่ง ได้มากน้อยเพียงใด
  3. ให้เด็กชี้ตามส่วนต่างๆ ของร่างกายที่ละส่วนอย่างรวดเร็ว เช่น แขน ข้อศอก ข้อมือ ตา จมูก ข้อเท่า เข่า และให้ลองชยับเขยื้อนดูทีละส่วน
  4. ให้เด็กหาพื้นที่ให้ตัวเองและลองจัดท่าทาง โดยเน้นให้จัดแขน ขา หรือลำตัวส่วนใดส่วนหนึ่ง แล้วอยู่นิ่งในท่านั้น สลับกันไป
  • แนวทางการประเมิน
  1. สังเกตการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย
  2. สังเกตการทำท่าทางแปลกใหม่ ไม่ซ้ำกัน
  3. สังเกตการทำท่าทางตามคำสั่งและข้อตกลง
  4. สังเกตการแสดงออก
  5. สังเกตความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม
ความรู้ที่ได้รับ

 ได้รู้ความรู้พื้นฐานของการเคลื่อนไหว เเละการเคลื่อนไหวอยู่กับที่ สามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้มาประยกต์ใช้ในการจักกิจกรรมการเคบื่อนไหวและจังหวะให้กับเด็กได้อย่างถูกต้องและครบถ้วนตามหลัก

การประเมิน

ประเมินตนเอง - มีความตรงต่อเวลาในการเข้าเรียนเวลาที่อาจารย์สอนก็ตั้งใจฟังแต่าจจะมีช่วงที่ไม่สนใจบ้างก็พยายามดึงตัวเองให้กลับมามีสมาธิในการเรียนอีกครั้ง

ประเมินเพื่อน - วันนี้เพื่อนๆน่ารักตั้งใจฟังอาจารย์สอนเป็นอย่างดีแล้วก็ช่วยกันตอบคำถามเวลาที่อาจารย์ถามคำถาม

ประเมินอาจารย์ - อาจารย์มีความตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพ อธิบายถึงรายละเอียดของเนื้อหาได้อย่างเข้าใจ

วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2








วันจันทร์ ที่ 18 มกราคม พ.ศ.2559 เวลา 10:30 - 12:30 น.

ความรู้ที่ได้ในวันนี้

      วันนี้อาจารย์บาสได้สอนการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวและจังหวะสำหรับเด็กปฐมวัย




เนื้อหาสาระ กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะหมายถึง กิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้เด็กๆได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย ตามจังหวะได้อย่างอิสระ โดยใช้จังหวะเเละดนตรีที่ใช้ประกอบจังหวะ ได้แก่ เสียง - ทำนองเพลง การปรบมือ เสียงเคาะไม้ กลอง เป็นต้น มาประกอบการเครื่องไหว เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ เรียนรู้จังหวะเเละการควบคุมการเคลื่อนไหวของตัวเองได้
  •  เสียงหรือสัญลักษณ์ ที่ใช้กำหนดความช้าเร็วของการเคลื่อนไหวมีดังนี้ 

  1. เสียงจากคน เช่น การนับ 
  2. เสียงจากเครื่องดนตรี เช่น การเคาะ ตีเครื่องดนตรี
  3. การตบมือหรือการดีดนิ้วเป็นจังหวะ
  • ความสำคัญของการเคลื่อนไหวและจังหวะ





  • การเคลื่อนไหวพื้นฐานแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่ 
  1. การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ ได้แก่ การเคลื่อนไหวส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย โดยจะไม่เคลื่อนที่ไปไหน
  2. การเคลื่อนไหวที่เคลื่อนที ได้แก่ การเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เช่น การเดิน การวิ่ง 
  • องค์ประกอบของการเคลื่อนไหวและจังหวะ
  1. การรู้จักส่วนต่างๆของร่างกาย
  2. บริเวณและเนื้อที่
  3. ระดับของการเคลื่อนไหว
  4. ทิศทางของการเคลื่อนไหว
  5. การฝึกจังหวะ
  • หลักการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ
              ควรเริ่มจากการเคลื่อนไหวที่เป็นอิสระไม่ควรมีระเบียบและวิธีการที่ยุ่งยากนักให้เด็กแสดงออกด้วยตนเองอย่างอิสระและเป็นไปตามความนึกคิดของเด็กเอง ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้เด็กมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความนึกคิด ความรู้สึกต่างๆ ครูเปิดโอกาสให้เด็กคิดหาวิธีการเคลื่อนไหวแบบที่ต้องเคลื่อนที่เป็นรายบุคคลเป็นคู่ เป็นกลุม ตามลำดับ
  • เนิ้อหาการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ
  1. การเคลื่อนไหวตามจินตนาการ
  2. การเคลื่อนไหวประกอบจังหวะและดนตรี
  3. การฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตาม
  4. การฝึกความจำ
  5. การเคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์ / ประกอบเพลง
  6. การเคลื่อนไหวตามจังหวะและสัญญาณ
  7. การฟังและปฏิบัติตามคำสั่ง / คำบรรยาย
  • จุดประสงค์การจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ
  1. เพื่อให้เด็กออกกำลังกาย
  2. เพื่อนฝึกการฟังและปฏิบัติตาม
  3. เพื่อส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
  4. เพื่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน
  • บทบาทครูในการจัดกิจกรรม
  1. สนับสนุนให้เด็กมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
  2. ครูควรสร้างบรรยากาศสร้างให้เด็กมีความมั่นใจความกล้า
  3. ไม่ควรชี้แนะเด็กในเรื่องความคิดมากเกินไปแต่ความพูดในเชิงเสนอแนะ เมื่อเด็กบางคนยังคิดไม่ออก
  4. จัดกิจกรรมวันละไม่น้อยกว่า 15-20 นาที
  5. ก่อนจัดกิจกรรมเสร็จสิ้น ให้เด็กพักผ่อนนิ่งๆอย่างน้อย 2 นาที
  6. ในระยะแรกให้เด็กออกมาร่วมกิจกรรมกลุ่มทีละไม่เกิน 10 คน แต่ในระยะต่อไป อาจเพิ่มจำนวนเด็กมากขึ้น
  7. ครูอาจใช้การเคลื่อนไหวและจังหวะสัมพันธ์กับทักษะทางคณิตศาสตร์ เช่น เมื่อสั่งให้ "หยุด"เด็กต้องจับกลุ่ม 3 คน
  • แนวทางการประเมิน
  1. สังเกตการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย
  2. สังเกตการทำท่าทางแปลกใหม่ ไม่ซ้ำกัน
  3. สังเกตการทำท่าทางตามคำสั่งและข้อตกลง
  4. สังเกตการแสดงออก
สังเกตความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม
วัน พฤหัสบดี ที่ 21 มกราคม พ.ศ.2559 เวลา 11:30 - 14: 30 น.

  จากที่เราได้เรียนเกี่ยวกับทฤษฎีไปแล้วเราก็ได้มาเรียนการปฏิบัติกับอาจารย์เบียร์ในสัปดาห์ที่แล้วเรามีการบ้านคือการไปซ้อมเต้นเพลงที่เราชอบ  มาดู ท่าเต้นของเพื่อนๆบางส่วนกันดีกว่า 


ทีเด็ดอยู่ที่คู่ของเรา 5555 



  • การจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวให้เด็กมี 3 ขั้นคือ
  1. ขั้นนำ คิอ การเครื่องไหวพื้นฐาน
  2. ขั้นสอน คือการเคลื่อนไหวให้สัมพันธ์กับเนื้อหา เช่น หน่วยสัตว์ก็ให้เด็กได้เเสดงท่าสัตว์ต่างๆ
  3. ขั้นสรุป คือ การให้เด็กได้ผ่อนคลาย 
  • แล้วอาจารย์ก็ได้สาธิตถึงวิธีการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหว ให้กับพวกเรา
การนำความรู้มาประยุกต์ใช้

   เราสามรถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้มาปรับใช้ในการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวให้กับเด็กได้ในอนาคต โดยเรานำเทคนิคของอาจารย์มาปรับใช้และที่สำคัญเราจะสามารถจัดกิจกรรมได้ถูกต้องตามขั้นตอน

การประเมิน

ประเมินตนเอง - วันนี้ต้องใจเรียนมากๆแล้วก็ซ้อมท่าเต้นมาอย่างดีเพื่อที่จะสร้างความสนุกให้กับเพื่อนๆ
ประเมินเพื่อน - เพื่อนๆแต่ละคนกล้าที่จะเต้นโดยไม่เขินอายและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี
ประเมินอาจารย์ - ในการสอนของทฤษฎีอาจารย์บาสอธิบายเนื้อหาได้อย่างละเอียดทำให้เข้าใจได้ง่าย
ในการเรียนวันพฤหัสบดี อาจารย์เบียรืมีความน่ารักเเละเป็นกันเอง อาจารย์มีวิธีการสอนี่น่าสนใจทำให้เข้าใจขั้นตอนในการปฏิบัติได้ง่าย






วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1



บรรยากาศในวันนี้

  วันนี้อาจารย์ได้แจกใบปั้มในการมาเรียน คราวนี้ใบปั้มมีความน่ารักมากกว่าเดิมอีก มาดูสิน่าตาเป็นยังไง


อาจารย์ก็ได้พูดคุยกับนักศึกษาเพื่อรอให้สมาชิกภายในห้องมากันครบ พอสมาชิกภายในห้องมากันครบอาจารย์ก็ให้พวกเรานั่งเป็นครึ่งวงกลมแบบทุกครั้ง อาจารย์มีกิจกรรมก่อนที่จะให้พวกเราเริ่มเรียนคือการทำสมาธิหรือการบริหารสมองก่อนที่จะเริ่มเรียน เช่น ทำจีบL โดยมีซ้ายจีบ มือขวาทำตัว L แล้วค่อยๆทำสลับข้างกัน หรือจะเป็นโปง ก้อน ก็ทำคล้ายๆกับจีบแอล ทำอย่างล่ะ 10 ครั้ง โดยจากสัปดาปห์ก่อนที่เราจะเริ่มเรียนกันอย่างจริงจัง อาจารย์ได้มีการบ้านให้พวกเราไปฝึกกันคือ การเต้น T26 นั้นเองแต่ T26 อันนี้เป็นของคุณครูนกเล็กซึ่งเป็นการดัดแปลงจากท่ากิจวัตประจำวันมาเป็นท่าของสัตว์แทน โดยอาจารย์ให้เราคิดท่าสัตว์ของตัวเองและทำท่าของตัวเองโดยให้เพื่อนๆทำตามพร้อมกันส่งเสียงร้องของสัตว์ชนิดนั้นๆอีกด้วย


มาดูบรรยากาศกันดีกว่า




อาจารย์เบียร์เต้นได้น่ารักมากกกก  >,<




  • พอพวกเราเต้นกันเสร็จอาจารย์ก็มีการบ้านให้พร้อมเรากลับไไปซ้องเต้นเพลงอะไรก็ได้ที่เราชอบมาเต้นในสัปดาห์หน้า
การนำความรู้มาประยุกต์ใช้

  • เราสามารถนำวิธีการฝึกสมาธิมาใช้กับตัวเองในในเวลาเรียนหรือเวลาที่เราจะอ่านหนังสือสอบ จะทำให้เรามีสมาธิมากขึ้นกว่าเดิม
  • เราสามารถนำวิธีการเต้นT26 มาปรับใช้กับเด็กได้โดยให้เด็กได้ออกแบบท่าเต้นของตัวเองตามกิจวัตประจำวันของเขาได้
กระประเมิน

ประเมินตนเอง - วันนี้ตั้งใจเรียนมาก ให้ความร่วมมือกับการทำกิจกรรมในทุกๆกิจกรรม
ประเมินเพื่อน - เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดีทำให้บรรยากาศในห้องเรียนนั้นสนุกสนานมากค่ะ
ประเมินอาจารย์ - อาจารย์ตรงต่อเวลาและมีเทคนิคในการสอนที่น่าสนใจและมีกิจกรรมใหม่ๆให้พวกเราได้ลองปฎิบัติ